วัตถุประสงค์ของนิทานพื้นบ้าน
1. นิทานช่วยเสริมปัญญาเด็ก
ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทาน บรรยากาศขณะ
เล่านิทานที่เกิดขึ้นเป็นบรรยากาศแห่งความสุขของทุกคน
เป็นบรรยากาศแห่งความรัก ความอบอุ่น สร้างความผูกพันมั่นใจ
เชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งจะเสริมปัญญาเด็กได้อย่างดี
2. นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต
นิทานช่วยให้เด็กเป็นเด็กกล้าถาม
เด็กจะมีความมั่นใจ ฉลาด แสดงความคิดเห็นถูกจังหวะ
เรียหว่ามีความฉลาดทั้งทางปัญญา( IQ)และฉลาดทางอารมณ์ ( EQ)ด้วย
3. นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็ว
การเล่านิทานเปรียบเสมือนการสอนภาษาไปในตัว เด็กจะได้ยินได้ฟังรูปประโยค
การใช้ภาษา ทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนนั้นๆ
4. นิทานทำให้เด็กจับประเด็นเก่ง วิเคราะห์เก่ง
การเล่านิทานให้เด็กฟัง
เล่าซ้ำๆเด็กจะจำได้ทั้งเรื่อง เด็กจะมองภาพรวมของเรื่อง
ทำให้เด็กรู้จักจับประเด็น ย่อความเป็น รู้จักมองสรรพสิ่งเป็นระบบ
เข้าใจเรื่องได้อย่างรวดเร็ว
5. นิทานสร้างให้เด็กมีจินตนาการ
ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทานนั้น
น้ำเสียงที่เล่าเรื่องนั้นจะกระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการเป็นภาพ
จินตนาการยิ่งใหญ่กว่าความรู้
จินตนาการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆใหม่ๆเกิดขึ้นในโลกของเรานี้ การเล่านิทานบ่อยๆ
มากๆเรื่องจึงเป็นการสร้างจินตนาการไปพร้อมๆกับการรับรู้ถึงความใหม่ที่ลูกยังไม่เคยรู้มาก่อน
6. นิทานช่วยสร้างคุณธรรมแก่เด็กได้ง่าย
นิทานแต่งขึ้นเพื่อสอดแทรกคุณธรรม
ทักษะชีวิต หรือข้อคิดต่างๆ เป็นอุทาหรณ์ให้ผู้รับฟังได้ตระหนักรับรู้
คุณธรรมทั้งหลายที่ลูกได้ฟังตั้งแต่ปฐมวัยจะจำฝังแน่นอยู่ในตัวเด็กและนำไปใช้ในวัยรุ่น
7. นิทานช่วยสร้างสมาธิให้เด็ก
ช่วงของการเล่านิทาน
เด็กมักจะฟังนิทานอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเล่านิทานที่เหมาะกับของเด็ก
เด็กจะเข้าใจและอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
และนี่เป้นการสร้างสมาธิให้กับเด็กอีกวิธีหนึ่ง
8. นิทานช่วยสร้างเด็กให้มีความรู้ ความฉลาดทางอารมณ์
เมื่อเด็กๆชอบฟังนิทาน
ก็จะหาวิธีปรับตัวและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ เพื่อจะได้ฟังนิทานบ่อยๆ
โดยสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กมีวิธีการพัฒนาปรับตัวเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
9. นิทานช่วยสร้างเด็กให้มีนิสัยรักการอ่าน
การเล่านิทานหรืออ่านนิทานให้เด็กฟังบ่อยๆ
จะเป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ของเด็กทุกมิติ
เด็กจะเป็นคนรักการอ่านหนังสือ อ่านหนังสือได้ไว มีสมาธิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น